วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

SRAM และ DRAM

SRAM และ DRAM

SRAM หรือ เอสแรม ย่อมาจากคำว่า Static RAM (สแตติกแรม) เป็นหน่วยความจำประเภท RAM ที่พัฒนามาจากทรานซิสเตอร์ มีคุณสมบัติสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ในหน่วยความจำตราบเท่าที่ยังมี
ไฟเลี้ยงอยู่ และทำงานได้ที่ไม่ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายใน
(เรียกว่า รีเพรช - Refresh) อยู่ตลอดเวลาเหมือน DRAM อีกทั้งยังมีความเร็วในการเข้าถึง
ข้อมูลที่สูงกว่าด้วย แต่ว่าหน่วยความจำชนิดนี้มีราคาแพงและจุข้อมูลได้ไม่มาก
เลยนิยมนำมาใช้เป็นหน่วยความจำแคลช (cache) ของซีพียู ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของ DRAM และนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแรมของตัวแปลงสัญญาณดิจิตอล/อนาลอก
(Digital-to-Analog Converter) บนวีดีโอการ์ด

DRAM หรือ ดีแรม ย่อมา จาก Dynamic RAM (ไดนามิกแรม) เป็นหน่วยความจำประเภท RAM
เช่นเดียวกับ SRAM แต่ จะมีราคาถูกกว่า เพราะการใช้งาน RAM นั้น ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา
และนอกจากไฟเลี้ยงแล้ว DRAM ยังต้องการ การ Refresh ข้อมูลเป็นระยะๆ เสมือนการเตือนความทรงจำ ซึ่ง ผิดกับ SRAM ที่ไม่ต้องมีการ Refresh เนื่องจาก DRAM ซึ่งทำมาจาก MOSใช้หลักการ ของตัวเก็บประจุ มาเก็บข้อมูล เมื่อเวลาผ่านไป ประจุจะค่อยๆรั่วออก ทำให้ต้องมีการ Refresh ประจุตลอดเวลาการใช้งาน
ความแตกต่างระหว่าง SRAM และ DRAM
คุณสมบัติที่แตกต่างกัน ระหว่าง SRAM กับ DRAM คือ SRAM มีราคาสูงกว่า เนื่องจาก SRAM มี ความเร็วสูงกว่า DRAM
การใช้งาน RAM นั้น ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา และนอกจากไฟเลี้ยงแล้ว DRAM ยังต้องการ การ Refresh ข้อมูลเป็นระยะๆ เสมือนการเตือนความทรงจำ ซึ่ง ผิดกับ SRAM ที่ไม่ต้องมีการ Refresh เนื่องจาก DRAM ซึ่งทำมาจาก MOSใช้หลักการ ของตัวเก็บประจุ มาเก็บข้อมูล เมื่อเวลาผ่านไป ประจุจะค่อยๆรั่วออก ทำให้ต้องมีการ Refresh ประจุตลอดเวลาการใช้งาน ส่วน SRAM ซึ่งทำมาจาก Flip-Flop นั้น ไม่จำเป็นต้องมีการ Refresh แต่ SRAM จะกินไฟมากกว่า DRAM อันเนื่องจากการใช้ Flip-Flop นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น